- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 24-30 กรกฎาคม 2566
ข้าว
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2566
มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.375 ล้านไร่ ผลผลิต 25.761 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.977 ล้านไร่ ผลผลิต 26.632 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 423 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 0.96 ร้อยละ 3.27 และร้อยละ 2.36 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ฝนมาล่าช้า และคาดว่าปริมาณฝนจะน้อยกว่าปี 2565 โดยในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2566
จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้ขาดแคลนน้ำในด้านการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ส่งผลให้เกษตรกรบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณฝนน้อยจากการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ ยังเสี่ยงพบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น ไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น รวมทั้งปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ยังคงมีราคาสูง เกษตรกรจึงปรับลดปริมาณการใช้ ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2566 ปริมาณ 16.610 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 64.48 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ เดือนกรกฎาคม 2566 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 0.038 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 0.15 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2566 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.888 ล้านไร่ ผลผลิต 7.722 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 650 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 24.51 ร้อยละ 25.14 และร้อยละ 0.62 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ
มีมากกว่าปี 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากในช่วงเดือนกันยายน 2565 มีพายุโนรูเข้าประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนัก และปริมาณน้ำฝนสูงกว่าค่าปกติ รวมทั้งราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับเกษตรกรบางส่วนปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม โดยขยายเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในพื้นที่นาที่เคยปล่อยว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก และการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2566 โดยผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2566 ปริมาณรวม 4.728 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 61.23 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - กรกฎาคม 2566 มีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 7.659 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 99.19 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,004 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,967 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,701 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,491 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.00
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 32,200 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 31,550 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.06
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,825 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 17,410 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 896 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,569 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้น
จากตันละ 868 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,995 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.23 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 574 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 572 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,515 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 534 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,453 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.12 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,062 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 569 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,413 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 531 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,349 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.16 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,064 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.1175 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 ไทย
สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยมีความวิตกกังวลว่า หลังจากที่อินเดียซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกประกาศ
งดส่งออกข้าวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ เนื่องจากอาจกระทบต่อราคาข้าวในประเทศของไทยที่ปรับสูงขึ้นประมาณร้อยละ 10
ผู้ค้าข้าวไทยทั้งผู้ส่งออกและโรงสีมีความเห็นว่า ตลาดข้าวโลกอาจจะชะลอตัวหลังจากนี้ จึงต้องติดตามสถานการณ์ของรัฐบาลอินเดียว่าจะมีการผ่อนปรนคําประกาศดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งการส่งออกข้าวไทยคงได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน โดยเฉพาะในเรื่องของการกำหนดราคาข้าวแต่ละชนิดที่อยู่ในขั้นตอนการทำสัญญาซื้อขาย อาจจะต้องเลื่อนออกไปเพื่อกำหนดราคาให้สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวอาจเป็นโอกาสที่ไทยจะสามารถทวงแชมป์
ผู้ส่งออกข้าวกลับมาได้ แต่ไทยยังมีเวียดนามเป็นคู่แข่งที่สำคัญ เนื่องจากเวียดนามมีพื้นที่ปลูกข้าวมากกว่าไทย ขณะที่ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนของไทยได้เร่งหาวิธีเพื่อเตรียมการแก้ไขปัญหา หากราคาข้าวในประเทศปรับสูงขึ้นตามราคาส่งออก รวมทั้งมีปัจจัยจากในปี 2566 ไทยประสบปัญหาภัยแล้งในหลายพื้นที่ ซึ่งอาจส่งผลให้ปริมาณผลผลิตข้าวลดลง
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
2.2 อินโดนีเซีย
สํานักข่าว Antara News รายงานว่า รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของอินโดนีเซีย ระบุว่า สต็อกข้าวของประเทศ
มีเพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2566 ซึ่งเป็นช่วงที่คาดว่าจะเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรงที่สุด โดยในเดือนกรกฎาคม 2566 มีการเก็บเกี่ยวข้าวประมาณ 5 ล้านไร่ และเดือนสิงหาคม 2566 คาดว่าจะเก็บเกี่ยวได้มากกว่า 5 ล้านไร่ ดังนั้น สต็อกข้าวของอินโดนีเซียยังคงมีมากกว่า 2 ล้านตัน
ขณะที่ นายโจโค วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ได้กําชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เฝ้าระวังปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ได้ด้วยการคํานวณเพียงอย่างเดียว ควรมีการปรับแนวทางการดำเนินการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และขอให้ทุกกระทรวงให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าโภคภัณฑ์รวมทั้งข้าวด้วย
อย่างไรก็ตาม หน่วยงาน BULOG ที่มีหน้าที่ดูแลสต็อกข้าวของประเทศ ได้สำรองข้าวไว้ในสต็อกแล้วประมาณ 750,000 ตัน จากการจัดหาข้าวจากเกษตรกรในประเทศ ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการแม้ว่าผลผลิตในช่วงปลายปีจะได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ และมีรายงานเพิ่มเติมว่า BULOG ยังได้รับอนุญาตให้เพิ่มอุปทานข้าวโดยการนําเข้าข้าวจากต่างประเทศ จำนวน 300,000 ตัน หลังจากที่มีการนําเข้าข้าวแล้วประมาณ 500,000 ตัน
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.35 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 11.59 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.96 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.16
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.79 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.92 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 334.60 ดอลลาร์สหรัฐ (11,379.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 335.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,469.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 90.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 577.00 เซนต์ (7,947.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 542.00 เซนต์ (7,396.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.46 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 551.00 บาท
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.35 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 11.59 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.47 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.96 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.16
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.79 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.92 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 334.60 ดอลลาร์สหรัฐ (11,379.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 335.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,469.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 90.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 577.00 เซนต์ (7,947.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 542.00 เซนต์ (7,396.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.46 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 551.00 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.363 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.89 ร้อยละ 3.93 และร้อยละ 2.07 ตามลำดับ โดยเดือนกรกฎาคม 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.501 ล้านตัน (ร้อยละ 1.53 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.317 ล้านตัน (ร้อยละ 59.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลัง และเชื้อแป้งมีคุณภาพลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.76 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.75 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.36
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.77 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.04 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.84
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.49 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.39 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.19
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 18.50 บาท เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 265 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,120 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 263 ดอลลาร์สหรัฐ (9,030 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.76
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,370 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวที่ตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,310 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ปาล์มน้ำมัน
อ้อยและน้ำตาล
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
- สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- Archer Consulting รายงานว่า สภาพอากาศในภาคกลาง – ใต้ของ ประเทศบราซิล ยังคงเอื้ออำนวยต่อการเก็บเกี่ยว แต่โรงงานยังคงต้องทิ้งอ้อยที่รอเข้าหีบจำนวน 10 - 20 ล้านตัน และด้วยเหตุนี้ฤดูการผลิตปี 2567/2568 ของบราซิลจึงคาดว่าจะเริ่มเปิดหีบเร็วขึ้น
- ราคาน้ำตาลของประเทศปากีสถานแตะระดับสูงสุด เป็นประวัติการณ์ที่ราคา 160 รูปีปากีสถาน/กิโลกรัม (0.55 ดอลลาร์สหรัฐฯ/กิโลกรัม) ข้อมูลอย่างเป็นทางการรายงานว่า ปากีสถานมีการส่งออกน้ำตาลมูลค่า 18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปยังจีนในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 เพิ่มขึ้นจาก 600,000 เหรียญสหรัฐฯ ในช่วงเวลาเดียวกันของปีแล้ว
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,509.3 เซนต์ (19.12 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 1,492.68 เซนต์ (18.87 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.23
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 459.85 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.85 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 440.84 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.41
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 68.10 เซนต์ (51.74 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 66.38 เซนต์ (50.34 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.12
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,509.3 เซนต์ (19.12 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 1,492.68 เซนต์ (18.87 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.23
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 459.85 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.85 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 440.84 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.41
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 68.10 เซนต์ (51.74 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 66.38 เซนต์ (50.34 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.12
ยางพารา
ถั่วเขียว
ถั่วลิสง
ฝ้าย
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,935 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,929 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.31 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,396 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,378 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.31 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 942 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีเพิ่มขึ้นแต่ปริมาณการบริโภคลดลง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 70.81 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.87 คิดเป็นร้อยละ 1.47 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 81.02 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 71.26 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 67.54 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 71.51 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,400 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้ของผู้บริโภคชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.78 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.07 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.50 ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.00 คิดเป็นร้อยละ 3.66 ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.00 คิดเป็นร้อยละ 0.86
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 361 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 357 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 347 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 338 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 375 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 427 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 399 สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 396 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.76 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 413 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 408 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 377 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 415 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 467 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.63 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.40 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100. 27 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 86.68 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.23 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 70.39 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.63 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.38 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.32 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีเพิ่มขึ้นแต่ปริมาณการบริโภคลดลง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 70.81 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.87 คิดเป็นร้อยละ 1.47 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 81.02 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 71.26 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 67.54 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 71.51 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,400 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้ของผู้บริโภคชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.78 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.07 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.50 ลดลงจากกิโลกรัมละ 41.00 คิดเป็นร้อยละ 3.66 ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.00 คิดเป็นร้อยละ 0.86
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 361 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 357 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.12 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 347 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 338 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 375 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 427 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 399 สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 396 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.76 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 413 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 408 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 377 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 415 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 467 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.63 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 90.40 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100. 27 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 86.68 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 76.23 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 70.39 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.63 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.38 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.32 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
ประมง
ตารางประมง ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี